ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE) ช่วยปกป้องดวงตา โรคตา และป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
โรคจอประสาทตาเสื่อม ( AMD )
ความผิดปกติเกิดขึ้นที่จุดกลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการมองเห็นมากที่สุด โดยผู้ป่วยมักจะไม่สังเกตเห็นถึงความผิดปกติในระยะเริ่มต้น มารู้ตัวเมื่อมีการสูญเสียการมองเห็นเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า โรคจอประสาทตาเสื่อม ส่งผลทำให้สูณเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางภาพ โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถมองเห็นบริเวณขอบด้านข้างของภาพได้อยู่ โรคนี้มีอุบัติการสูงขึ้นมากในกลุ่มอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะตาบอดแบบถาวรในผู้สูงอายุ บุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ 1. ผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจึงควรได้รับการตรวจจอประสาทตาทุก 1-2 ปี
2. การสูบบุหรี่
3. โรคความดันโลหิตสูง
4. โรคเบาหวาน
5. คอเลสเตอรอลสูง
6. ประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม
โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งตามลักษณะของโรค 2 ประเภท คือ1. โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง หรือแบบเสื่อมช้า (Dry หรือ Atrophic AMD) เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด โดย เซลล์จอประสาทตาจะค่อยๆ เสื่อมเสียไปอย่างช้าๆ ความสามารถในการมองเห็นจะค่อยๆลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยแทบไม่ทันได้สังเกตุ
2. โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก หรือแบบเสื่อมเร็ว (Wet หรือ Neovascular AMD) พบประมาณร้อยละ 10-15 ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด จะเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วทันที เป็นผลจากจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวมและ/หรือมีเลือดออกจากเส้นเลือดผิดปรกติใต้จอประสาทต (Choroidal neovascular membrane)
การดูแลตัวเองเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคและการตาบอด
1.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดสูบบุหรี่ รวมทั้งหลีกเลี่ยงจากควันบุหรี่ด้วย งดอาหารที่มีไขมันสูง หากมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องรักษาและควบคุมให้อยู่ในเกรณ์ปกติ2.หมั่นออกกำลังกายแบบ aerobic exercise อย่างสม่ำเสมอโดยเลือกประเภทให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ ในผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาเรื่องข้อ การทำกายบริหารในสระน้ำจะช่วยให้ออกกำลังได้ดี โดยต้องมีเกรณ์ในการตรวจวัดชีพจรขณะออกกำลังกายให้เหมาะสมตามอายุและสภาพร่างกายด้วยจึงจะได้ผลดีและสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้
3.หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า ใส่แว่นตากันแดดเวลาออกนอกอาคารสถานที่ โดยเลือกเลนส์แว่นตาที่สามารถป้องกันแสงสีฟ้าและรังสี UV ได้ 99-100% และควรลดทอนความจ้าของแสงลงได้ 70-80%
4.รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อดวงตา พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิด lutein/zeaxanthin มีอยู่ที่ตาในปริมาณสูงและมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตาและเลนส์แก้วตา อาหารที่มีสารนี้ในปริมาณสูงได้แก่ ไข่แดง มีมากที่สุด รองลงไปได้แก่ผลไม้และผัก ผลไม้ ได้แก่ ข้าวโพดเหลือง ผลกีวี องุ่นแดงไร้เมล็ด ฟักทอง ผัก ได้แก่ ผัก zucchini ผักขม(spinach) แตงกวา ถั่วลิสง เป็นต้น สำหรับผักใบเขียวเข้มชนิดต่างๆของไทย ก็เชื่อว่ามีสารนี้อยู่มากเช่นกัน
5.การรับประทานวิตามินหรือสารอาหารทดแทนในรูปของยาสำเร็จรูป ควรให้จักษุแพทย์ตรวจดูสภาพจอประสาทตาก่อนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาเสริมหรือไม่ เพราะในยาพวกนี้มีปริมาณวิตามิน และสารอาหารทดแทนในปริมาณสูงมาก การรับประทานโดยไม่จำเป็นอาจทำให้มีการสะสมจนก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ และจากผลการศึกษาพบว่ายาในกลุ่มนี้ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรค หรือรักษาการมองเห็นที่เสียไปแล้วให้ดีขึ้นได้ แต่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อมไม่ให้เข้าสู่ระยะรุนแรงได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อมารับประทานเอง
6.เข้ารับการตรวจสุขภาพตาและจอประสาทตาเป็นระยะตามคำแนะนำในแต่ละช่วงอายุ และหมั่นคอยสังเกตการมองเห็นในตาแต่ละข้างว่าปรกติดีหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรรอจนมีอาการตามัวอย่างชัดเจน เพราะอาจแก้ไขได้ยาก
ปัจจุบัน ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE)สามารถป้องกัน โรคจอประสาทตาเสื่อม ได้ผลเร็วสุด ยอดขายสูงที่สุด
วิธีรับประทาน ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE)
1. ผู้ป่วยโรคตา ให้รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล
2. รับประทานเป็นอาหารเสริม ผู้ใหญ่ วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 แคปซูล
ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ให้ผลจากการรับประทาน 100% เห็นผลจริง รวดเร็ว ชัดเจน จึงขายดีที่สุดในขณะนี้
ปริมาณและราคา 1 ขวดบรรจุ 30 แคปซูล ราคา 1,900 บาท
เลขที่ อ.ย. 13-1-02950-1-0033
สั่งสินค้าคลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://ibrytesaibua.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สายบัว บุญหมื่น โทร. 088 415 3926
ID Line : bua300908
อีเมล์ sboonmuen@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น