โรคตาในผู้สูงวัย
ผู้สูงอายุการทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกายย่อมเสื่อมลง รวมถึง ดวงตาที่เป็นอวัยวะที่คนส่วนใหญ่มักละเลย ดูแล การตรวจ และรักษา เพราะคิดว่าไม่มีปัญหา กว่าจะมาพบจักษุแพทย์ก็เมื่ออาการของโรครุนแรง จนบางครั้งอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่ควรรู้จัก อาทิ โรคตาแห้ง ต้อกระจกต้อหิน จอตาเสื่อมในผู้สูงวัย และเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น เพื่อจะได้ป้องกันและถนอมสุขภาพตาให้สามารถมองเห็นได้อย่างสดใสไปนานๆ
โรคตาแห้ง
ตาแห้งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึง โรคต่างๆ เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ ต้อกระจก หรือ คนที่ทำเลสิก ใส่คอนแทคเลนส์มานานเป็นสิบปี และยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ก็ทำให้เกิดตาแห้งได้เช่นกัน
อาการของโรคตาแห้ง
ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา คันตา ไม่สบายตา หรือตาแดงบ่อยๆ รู้สึกเคืองตา คันตา เมื่อทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ในบางรายอาจมีน้ำตาไหลตลอดเวลา ซึ่งมักเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยสงสัยเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นตาแห้ง เนื่องจากตาแห้งทำให้มีการระคายเคืองตา เมื่อมีการระคายเคืองเรื่อยๆ จะไปกระตุ้นปฏิกิริยาของร่างกายให้มีการสร้างน้ำตาขึ้นมามาก สาเหตุของการมีน้ำตาไหล คือ ตาแห้ง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมเพื่อรักษาอาการน้ำตาไหลที่เกิดเนื่องจากภาวะตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
ผู้ป่วยจะป้องกันดวงตาด้วยตนเองด้วยการกะพริบตาบ่อยๆ ในขณะอ่านหนังสือ หรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ ใส่แว่นตากันลม หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและควัน และหยอดน้ำตาเทียม ซึ่งในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีสารกันเสีย ส่วนใหญ่จะใช้ในคนที่เป็นไม่มาก และชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย ใช้ในผู้ป่วยที่ต้องหยอดตาบ่อยๆกรณีที่ใช้น้ำตาเทียมแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการตาแห้งรุนแรงอยู่ แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการอุดท่อน้ำตาเพื่อลดการระบายออกของน้ำตา ในรายที่เป็นไม่มากอาจใช้การอุดแบบชั่วคราว แต่ถ้าเป็นรุนแรงมากอาจใช้วิธีการอุดแบบถาวร
ต้อกระจก
โรคต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเกิดการขุ่น (ภาวะปกติจะใส) ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้น้อยลง จึงมองเห็นได้ไม่ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากอายุ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน
อาการของต้อกระจก
อาการของโรคต้อกระจกขึ้นกับความรุนแรงของโรค แล้วแต่ว่าเลนส์ตาขุ่นมากน้อยเพียงใด อาการที่อาจพบได้ เช่น มองเห็นสีทึมๆ ไม่สดใส มองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนเคยในที่ที่มีแสงเท่าเดิม มองเห็นภาพซ้อน มองไม่เห็นเมื่อมีแสงจ้าหรือสู้แสงไม่ได้ ขับรถแล้วมองแสงไฟสะท้อนจากรถฝั่งตรงข้ามไม่ได้ เป็นต้น
การรักษาโรคต้อกระจก
การรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน วิธีที่นิยมใช้ในการรักษา คือ การสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวนด์ แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป วิธีนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องเย็บแผล จึงสามารถฟื้นตัวได้เร็ว แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องทำการผ่าตัดแบบที่ต้องเปิดแผลใหญ่ เพื่อเอาต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งได้ผลดีเช่นกัน แต่การหายของแผลจะช้ากว่า
ต้อหิน
ต้อหินเป็นโรคที่มีการทำลายของเส้นประสาทตา โดยส่วนใหญ่เกิดจากความดันในลูกตาสูง จัดเป็นโรคที่เป็นภัยเงียบ เพราะสามารถทำให้ตาบอดอย่างช้าๆ ได้ ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหินมาก่อน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ใช้ยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ (การใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์ควรใช้ในขนาดและตามเวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าซื้อยามาใช้เอง เพราะการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ต่อเนื่องกันนานๆ อาจทำให้เกิดต้อหินได้)
อาการของต้อหิน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคต้อหิน เนื่องจากโรคจะค่อยๆ ดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากการมองเห็นที่ลดลงทางด้านข้าง (ยังมองเห็นตรงกลางได้ชัดเจน) จนตาบอดสนิทได้ในผู้ป่วยต้อหินระยะสุดท้าย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดตาเล็กน้อย เมื่อรับประทานยาก็หาย จึงไม่ได้ให้ความสำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันตาสูงมากเฉียบพลัน อาจมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ตาแดง อาเจียน มองเห็นไฟเป็นดวงๆ กระจัดกระจาย แต่พบกรณีนี้ได้น้อยกว่าผู้ที่มีความดันตาสูงกว่าปกติเพียงเล็กน้อย
การรักษาโรคต้อหิน
โรคต้อหินทำการรักษาด้วยยาหยอดตาเพื่อรักษาสมดุลของความดันตา โดยอาจจะลดการสร้างน้ำในลูกตาหรือทำให้มีการระบายน้ำมากขึ้น ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการทำเลเซอร์ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาหรือมีอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ทั้งนี้โรคต้อหินหากเริ่มต้นรักษาได้เร็วจะช่วยหยุดความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น ถ้าปล่อยไว้จนตาบอดจะไม่สามารถแก้ไขได้
จอตาเสื่อมในผู้สูงวัย
จอตาเสื่อมในผู้สูงวัยเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของจุดศูนย์กลางของจอตา ซึ่งเป็นจุดรับภาพที่ทำให้เรามองเห็น โรคนี้แบ่งออกเป็นชนิดแห้งและชนิดเปียก โดยชนิดแห้งเป็นชนิดที่พบได้มากกว่า เซลล์ประสาทตาบริเวณจุดรับภาพจะค่อยๆ เสื่อมไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ตามอายุ ใช้เวลานาน จนถึงระยะท้าย ผู้ป่วยจะมองไม่เห็นตรงกลาง แต่จะมองเห็นด้านข้างได้ (ตรงกันข้ามกับต้อหิน) ส่วนชนิดเปียก พบได้น้อยกว่าแต่รุนแรงกว่าชนิดแห้ง เนื่องจากมีการเสื่อมของจอตาร่วมกับมีการสร้างเส้นเลือดผิดปกติใต้จอตา ทำให้จอตาบวมและมีเลือดออกได้ ส่งผลให้ตามัวเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมองไม่เห็นทันทีได้
ปัจจัยเสี่ยงของจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย
1. อายุที่มากขึ้น โดยโรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย2. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน (ในรุ่นลูกจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นในอายุที่ลดลงมา เช่น คุณพ่อคุณแม่เป็นเมื่ออายุ 60 ปี ลูกอาจมีโอกาสเป็นในขณะอายุ 50 ปี)
3. ผู้ที่ต้องอยู่กลางแดดนานๆ เช่น วิศวกรที่ทำงานกลางแดดตลอดเวลา
4. ผู้ที่สูบบุหรี่
5. อ้วน
6. โรคความดันโลหิตสูง
อาการของจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย
1. ผู้ป่วยที่เป็นจอตาเสื่อมชนิดแห้ง อาจมาด้วยอาการมองไม่เห็นส่วนกลางของภาพหรือเห็นภาพบิดเบี้ยว ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ 2. ผู้ป่วยที่เป็นจอตาเสื่อมชนิดเปียก อาจมีอาการตามัวเฉียบพลัน มองไม่เห็นในทันทีได้
การรักษาจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย
โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงวัยไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงมีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งไม่ให้โรคดำเนินต่อ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด วิธีการรักษามีหลายวิธี เช่น การใช้เลเซอร์ทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติ การผ่าตัด วิธีที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตาโดยตรง เพื่อยับยั้งการหลั่งสารที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดที่ผิดปกติ พบว่าวิธีนี้จะช่วยลดการสูญเสียการมองเห็นแล้ว และยังช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ป่วยบางรายด้วย แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ต้องฉีดยาซ้ำ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษาตามการตอบสนองของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค
เบาหวานขึ้นตา
โรคเบาหวานขึ้นตาไม่ขึ้นอยู่กับความเสื่อมตามอายุโดยตรง แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานก็มากขึ้น และโรคเบาหวานเองก็เป็นโรคที่ทำร้ายสุขภาพของดวงตาอย่างมาก โดยสามารถทำให้เกิดโรคตาแห้ง ทำให้เกิดต้อกระจกได้มากขึ้น และทำให้มีความเสี่ยงของต้อหินมากกว่าคนปกติ แต่ที่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานคือ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
อาการเบาหวานขึ้นตา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ บางรายอาจมาด้วยอาการตามัว มองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว เห็นเงาดำลอยไปมา ในรายที่เป็นต้อหินจากเบาหวาน อาจมีอาการปวดตาร่วมด้วย
การรักษาเบาหวานขึ้นตา
แพทย์จะทำการตรวจดูว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติอย่างไร และให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ผู้ป่วยที่มีเลือดออกหรือจุดรับภาพบวม อาจต้องใช้การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตา ผู้ป่วยที่มีพังผืดดึงรั้งทำให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตา อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นต้นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ ต้องพยายามควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและเข้ารับการตรวจตาโดยเร็วที่สุด เพราะการตรวจพบความผิดปกติในระยะแรก จะช่วยลดความสูญเสียของการมองเห็นได้อย่างมาก
ผู้สูงอายุจะยังไม่พบความผิดปกติของดวงตาก็ควรเข้ารับการตรวจตากับจักษุแพทย์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีปัญหาตารุนแรง เช่น เป็นต้อหิน ควรเข้ารับการตรวจบ่อยครั้งกว่าปกติ นอกจากนี้ ในผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ควรปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต เช่น งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และที่สำคัญที่สุดคือ หมั่นตรวจเช็กดวงตาของตนเองอยู่เป็นประจำ โดยการปิดตาทีละข้าง ดูว่ายังมองเห็นเป็นปกติหรือไม่ เห็นเส้นตรงเป็นเส้นโค้งหรือคดหรือไม่ หรือมีเงาลอยไปมาหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ก็ตามให้รีบไปพบจักษุแพทย์ทันที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพตาที่ดีและมีความสุขกับการมองเห็นที่สดใสได้อย่างยาวนาน
ปัจจุบัน ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE) สามารถป้องกันโรคตาในผู้สูงวัย ได้ผลเร็วสุด ยอดขายสูงที่สุด
วิธีรับประทาน ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE)
1. ผู้ป่วยโรคตา ให้รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล2. รับประทานเป็นอาหารเสริม ผู้ใหญ่ วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 แคปซูล
ไอไบ้ร์ท (I-BRYTE) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ให้ผลจากการรับประทาน 100% เห็นผลจริง รวดเร็ว ชัดเจน จึงขายดีที่สุดในขณะนี้
ปริมาณและราคา 1 ขวดบรรจุ 30 แคปซูล ราคา 1,900 บาท
เลขที่ อ.ย. 13-1-02950-1-0033
สั่งสินค้าคลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://ibrytesaibua.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สายบัว บุญหมื่น โทร. 088 415 3926
ID Line : bua300908
อีเมล์ sboonmuen@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น